มะยม
คติความเชื่อ
มะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม
ชื่อพื้นเมืองยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป)หมักยม , หมากยม (อุดรธานี, อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels.
วงศ์EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาลใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็นแถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม.ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อ ๆผล อ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
การปลูกมะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางยาส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เปลือกต้น ใบ ดอก ผลรสและสรรพคุณในตำรายาไทยราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคันใบ รสจืด ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใสดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตาผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้องขนาดและวิธีใช้1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น มาต้มเอาน้ำดื่ม2. ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง3. กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุดประโยชน์ทางอาหารส่วนที่ใช้เป็นผัก ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลมะยมแก่รับประทานเป็นผักได้การปรุงอาหาร ชาวไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานรู้จักรับประทานมะยมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา
ชื่อพื้นเมืองยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป)หมักยม , หมากยม (อุดรธานี, อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels.
วงศ์EUPHORBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาลใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็นแถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20-30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-3.5 ซม. ยาว 2.5-7.5 ซม.ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อ ๆผล อ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด
การปลูกมะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ทางยาส่วนที่ใช้เป็นยา ราก เปลือกต้น ใบ ดอก ผลรสและสรรพคุณในตำรายาไทยราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคันใบ รสจืด ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใสดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตาผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้องขนาดและวิธีใช้1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น มาต้มเอาน้ำดื่ม2. ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง3. กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุดประโยชน์ทางอาหารส่วนที่ใช้เป็นผัก ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลมะยมแก่รับประทานเป็นผักได้การปรุงอาหาร ชาวไทยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสานรู้จักรับประทานมะยมเป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมใช้ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา